ผิวหนังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน เห็นแบบนี้พอเอามาคลี่กางเป็นแผ่นเดียวกันขนาดไม่เล็กเลยนะคะสาวๆ มีพื้นที่ประมาณ 20 ตารางฟุตได้เลย ลองนึกถึงลองนึกถึงห้องเก็บของแคบๆห้องนึงนะคะ ที่คนเข้าไปยืนได้ 1-2 คน ผิวหนังของคนเราจะมีขนาดใกล้เคียงห้องเก็บของแคบๆนั้นได้เลย บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจว่า ผิวหนังของคนเราทำหน้าที่อะไร
ผิวหนังคนเรานั้นประกอบไปด้วย 3 ชั้น แต่ละชั้นมีหน้าที่ต่างกันออกไป ลองมารู้จักแต่ละชั้นไปพร้อมๆกันค่ะ

หนังกำพร้า (Epidermis)
หนังกำพร้าคือส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุด ก็จะมีสีของหนังกำพร้าที่แตกต่างกันออกไป เรียกได้ว่าหนังกำพร้าคือด่านหน้าสุดสำหรับปกป้องร่างกายจากสิ่งอันตรายต่างๆจากสภาพแวดล้อม สีผิวของคนเราที่เกิดขึ้นจากเม็ดสีเมลานินจะถูกผลิตจากเซลล์ที่มีชื่อว่า “เมลาโนไซต์” (Melanocyte) ซึ่งอยู่ในชั้นของหนังกำพร้านี่เอง
หนังแท้ (Dermis)
หนังแท้จะเป็นชั้นที่อยู่ถัดลงไปจากชั้นหนังกำพร้า ต่อมเหงื่อ (Sweat Gland) จะอยู่ในชั้นของหนังแท้ ท่อขับถ่ายของต่อมเหงื่อจะต่อโดยตรงถึงชั้นของหนังกำพร้า รูขุมขน (Hair Follicles) ก็อยู่ในชั้นของหนังแท้ นอกจากนี้ยังมีเส้นประสาท เส้นเลือดฝอย คอลลาเจนที่เป็นปัจจัยของการเกิดริ้วรอยก็อยู่ในชั้นนี้ เมื่ออายุมากขึ้น คอลลาเจนในชั้นหนังแท้จะลดน้อยลง และทำให้ผิวเริ่มเกิดริ้วรอย
เนื้อเยื่อใต้หนัง (Subcutis)
ชั้นนี้คือชั้นล่างสุดของผิวหนังมนุษย์ ทำหน้าที่ผลิตคอลลาเจน ซึ่งการทาคอลลาเจนบนชั้นผิวหนังกำพร้าเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ และไม่ได้ช่วยให้คอลลาเจนซึมลงไปสู่ชั้นหนังแท้ จะทำได้เพียงแค่เคลือบอยู่ที่ชั้นของหนังกำพร้าเท่านั้น ชั้นนี้ยังเป็นที่อยู่ของเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นเลือดฝอยในชั้นหนังแท้ ชั้นนี้ยังผลิตเนื้อเยื่อไขมัน สำหรับปัญหาไขมันส่วนเกินสะสมจนเกิดความอ้วนก็เพราะเนื้อเยื่อไขมันที่ถูกผลิตขึ้นมาจำนวนมากเกินไปจากชั้นนี้ ทางด้านชั้นนี้ยังทำหน้าที่ซับแรงกระแทกที่ตกกระทบต่อร่างกาย และยังช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย


