การตลาดที่อิงมูเตลู

“มูเตลู คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ เรื่องลี้ลับ ของขลัง ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ การดูไพ่ การเสริมดวงและโชคชะตา การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ฯลฯ ซึ่งจริงๆ แล้ว ในปัจจุบัน “มูเตลู” ก็เป็นการหลอมรวมความเชื่อพุทธ พราหมณ์ การนับถือผีและสิ่งเร้นลับเข้าด้วยกัน จนกลืนกลายเป็นความเชื่อที่เสริมกำลังใจผู้นับถือบูชาให้สมหวัง”

คงต้องพูดว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” คำพูดนี้คุณผู้อ่านน่าจะเคยได้ยิน มูเตลูอาจจะเป็นเรื่องของความเชื่อส่วนบุคคล หรืออาจจะเป็นเรื่องงมงาย ก็แล้วแต่มุมของของแต่ละคนนะคะ ที่มาของคำว่าคำว่ามูเตลูคาดว่าน่าจะมาจากภาพยนตร์เก่าจากอินโดนีเซียที่ชื่อว่า มูเตลู ศึกไสยศาสตร์ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีใครทราบที่มาที่ไปอย่างแท้จริงของคำนี้

มูเตลูไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร เพราะอยู่คู่สังคมไทยมานาน ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาดในยุคปัจจุบันทำให้ผู้คนต้องการที่พึ่งทางจิตใจ มูเตลูคือที่พึ่งทางจิตใจทางหนึ่ง ในปัจจุบันคาดการณ์ว่าประเทศไทยมีคนเชื่อถือในเรื่องของมูเตลูมากกว่า 80% จากประชากรทั้งประเทศ ความเชื่อเรื่องมูเตลูหลักๆที่มีผลต่อคนไทยก็อย่างเช่น พระเครื่องและวัตถุมงคล, เลขมงคล, ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ เป็นต้น

มูเตลูได้ถูกนำไปประยุกต์กับการทำตลาดสินค้าต่างๆหลายตัว เช่นตลาดเครื่องสำอางก็มีการนำแนวคิดมูเตลูมาช่วยทำตลาดเครื่องสำอาง อย่างผลิตภัณฑ์บางตัวในท้องตลาดได้ผสมผสานเรื่องความเชื่อในเรื่องการใช้เครื่องสำอางพร้อมเสริมดวงไปในตัว หรืออย่างการตลาดของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือได้มีการนำหมายเลขมงคลมาเป็นจุดขาย แต่ที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างมานั้น มูเตลูเป็นแค่ส่วนประกอบหนึ่งในการทำตลาด ที่ในทางการตลาดเรียกว่า Brand Awareness หรือการสร้างความตระหนักในแบรนด์ หรือการสร้างความแตกต่าง (Differentiations)

การนำความเชื่อมูเตลู มาประกอบกับเทคนิคการตลาดอื่นๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้ซื้อที่มีความเชื่อและศรัทธา ในเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ สนใจที่จะซื้อหา แต่ขึ้นอยู่กับ Story หรือ เรื่องราวที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ทำคอนเทนต์มาประกอบ
เป็นการกระตุ้นจุดสนใจให้กับแบรนด์ ในขณะที่จุดขายจริงๆนั้นคือตัวสินค้าและบริการ สิ่งที่ต้องพึงระวังคือ ในขณะที่การใช้มูเตลูมาเป็นจุดขายเพียงอย่างเดียวจนบดบังตัวสินค้าและบริการที่แท้จริง ก็เหมือนกับผู้หญิงที่แต่งหน้าจัดจน ไม่เห็นผิวหน้าเดิมของผู้หญิงคนนั้น เมื่อล้างเครื่องสำอางออกคนอื่นๆถึงจะจำได้ว่าเป็นใคร ก็เหมือนกับว่า แทนที่คุณจะโฟกัส ในเรื่องของคุณสมบัติอันดีเลิศของผลิตภัณฑ์ที่คุณจะขาย แต่คุณกลับไปร่ายยาวถึงความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จนการตีความหมายผิด และคนก็ไม่รู้ว่าสินค้าที่คุณพยายามขายคืออะไร

การใช้มูเตลูทำการตลาดเพียงอย่างเดียวจึงอาจเป็นผลเสียแก่แบรนด์สินค้านั้นๆ กลายเป็นกลับมาทำลายตัวสินค้าและบริการของแบรนด์เสียเอง

คุณผู้อ่านคงจะพอนึกภาพออกแล้วใช่ไหมคะ ทุกอย่างมันต้องอยู่บนความพอดี ไม่ให้ตึงเกินไป และไม่ให้หย่อนเกินไป เดินทางสายกลาง ยังไงก็ตาม การตลาดถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาอยู่ตลอดค่ะ อยู่นิ่งไม่ได้ เพราะคู่แข่งก็ไม่เคยอยู่นิ่งเช่นกั