ประวัติศาสตร์เครื่องสำอางโลก ตอนที่ 2

หลังจากบทความในตอนที่แล้ว เราได้เกริ่นนำเบื้องต้นและพาท่านผู้อ่านย้อนไปเวลาไปสู่ยุคอิยิปต์โบราณ สาวๆอิยิปต์สมัยนั้นก็รักสวยรักงามเช่นเดียวกับสาวๆสมัยนี้ ชาวอิยิปต์โบราณนั้นถูกยกให้เป็นชนชาติแรกในโลกที่ทำการคิดค้นเครื่องสำอางขึ้น ซึ่งต่อมานั้น องค์ความรู้เรื่องการใช้เครื่องสำอางได้แพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่น ซึ่งตอนที่สองของบทความนี้เราจะพาท่านผู้อ่านย้อนกลับไปสู่โลกยุคอดีต แต่เป็นยุคที่ใหม่กว่าอิยิปต์โบราณ เมื่อองค์ความรู้เรื่องเครื่องสำอางได้แพร่หลายออกไปสู่ชนชาติอื่น

ยุคโรมัน

ในยุคที่โรมันเรืองอำนาจ ชาวโรมันได้เข้าไปครอบครองกรีกและอียิปต์ ไปจนถึงเมืองอเล็กซานเดรีย บุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ยุคนี้คือ จูเลียส ซีซาร์ (Jullius Caesar) มาร์ค แอนโทนี (Marcus Antonius) และ พระนางคลีโอพัตราที่ 7 (Cleopatra VII) ซึ่งพระนางคลีโอพัตรา รู้จักการเสริมสวยทำให้เป็นที่ดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็น และยังเป็นผู้คิดค้นเครื่องสำอางหลายประเภท ชาวโรมันได้รับอิทธิพลจากชาวกรีกและชาวอียิปต์ จึงทำให้รู้จักศิลปะการใช้เครื่องสำอาง และการแต่งกาย

ยุคมืด

หลังจากอาณาจักรโรมันได้เสื่อมอำนาจลง เนื่องจากเกิดสงครามทางศาสนา ความ เจริญก้าวหน้าทางเครื่องสำอางก็หยุดชะงัก แต่ในขณะเดียวกัน ในโลกตะวันออกกลับมีความเจริญก้าวหน้าของศิลปะการใช้เครื่องสำอาง นำโดยประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งได้ทำการค้าติดต่อกับประเทศทางยุโรป ผ่านทางเอเชียไมเนอร์ หรือเอเชียตะวัตกเฉียงใต้ โดยมีการซื้อขายสินค้าต่างๆ เช่น เครื่องเทศ ผ้า รวมทั้งเครื่องสำอาง

ยุคอิสลาม

ยุคอิสลามอยู่ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 7 – 12 หลังจากเสร็จสิ้นสงครามหลายศตวรรษ  ความเจริญก็ได้เกิดขึ้นบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวอาหรับ ในยุคนี้เป็นยุคของการเกิดศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ พระมะหะหมัด การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ทำให้สามารถรวมรวบอาณาจักรตั้งแต่ซีเรียจดประเทศอียิปต์ และยังข้ามไปทวีปแอฟริกาไปยึดครองประเทศสเปนและยุโรปบางส่วนได้ ชาวอาหรับมีข้อดีคือ เมื่อสามารถยึดครองประเทศใดได้ จะไม่เผาทำลายบ้านเมือง แต่จะนำเอาวิชาการของประเทศนั้นๆ มาใช้ ในยุคนี้มีบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการเครื่องสำอางคือ อิบน์ ซีนา (Ibn Sina) เป็นชาวเปอร์เซียที่ค้นพบวิธีการกลั่นน้ำหอมจากดอกกุหลาบ (rose water) อีกคนหนึ่งคือ อาบู มอนเซอ มูวาฟแฟส (Abu Monsur Muwaffax)  เป็นเภสัชกรชาวเปอร์เซียที่ค้นพบความมีพิษของทองแดงและตะกั่วในเครื่องสำอาง และยังค้นพบว่า สามารถใช้แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ในการกำจัดขน อีกคนที่สำคัญก็คือ อูมาร์ อิบน์ อัล-อาดิม (Umar Ibn Al-Adim) เป็นนักประวัติศาสตร์และครู ชาวซีเรีย ได้เขียนคู่มือเกี่ยวกับการทำน้ำหอมไว้มากมาย ยุคอิสลามนี้เรืองอำนาจอยู่ 300 ปี ก็เสื่อมอำนาจลงเนื่องจากแพ้สงครามแก่ชาวคริสเตียนในประเทศสเปนและหมู่เกาะซิซิลี

ยุคยุโรปเฟื่องฟู

ยุคยุโรปเริ่มเฟื่องฟูนี้ อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 –10 โดยเริ่มแรกความเจริญรุ่งเรืองจะอยู่บริเวณยุโรปตอนใต้  แถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน แต่หลังจากที่มีการเผลแพร่ศาสนาคริสต์เข้าสู่ประเทศในยุโรป ก็ได้มีการเผยแพร่อารยธรรมและวัฒนธรรมเข้าไปด้วย โดยถือว่ากรุงโรมเป็นศูนย์กลางที่ได้รับการเผยแพร่อารยธรรมและวัฒนธรรม

ยุคยุโรปก้าวหน้า

ยุคยุโรปก้าวหน้า ถือเป็นยุคทองของยุโรป อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 – 16  เป็นยุคที่ชาวยุโรปเริ่มมีการแสวงหาความรู้ทุกสาขาวิชา ได้มีการเปิดสถานที่ในการสอนวิทยาการทางการแพทย์และเภสัชกรรม โดยตั้งโรงเรียนที่เมืองซาลาโน (Salarno) และเปิดมหาวิทยาลัย ที่เมืองเนเปิลส์ (University of Naples) และมหาวิทยาลัยแห่งโบโลญา (University of Bologna) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการรักษาโดยการทำศัลยกรรมเป็นแห่งแรก และมีความเกี่ยวข้องกับเครื่องสำอางในยุคนี้  เป็นยุคที่ชาวยุโรป มีความรู้ในการผลิตน้ำหอมจากพืชและสัตว์บางชนิด และสามารถทำรูจ (rouge) สำหรับทาแก้มจากดินสีแดงที่เรียกว่า ซินนาบาร์ (cinnabar) ซึ่งมีไอร์ออน ออกไซด์ เป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ ยังสามารถทำแป้งทาหน้าจาก เลดคาร์บอเนต และรู้จักการทำน้ำมันแต่งผมจากน้ำมันพืชและน้ำมันดินจากธรรมชาติ

เครื่องสำอางมีประวัติมายาวนานกว่าที่เราคิดไว้อีกนะคะเนี่ย ก็แน่นอนอยู่แล้วว่า สาวๆยุคไหนก็อยากจะสวยเป็นธรรมดา และอีกสักร้อยปีนับจากนี้ วิวัฒนาการของเครื่องสำอางอาจจะเปลี่ยนไปอีกก็ได้

แหล่งที่มาของข้อมูล

  • โอลสัน, เคลลี (2009). “เครื่องสำอางในสมัยโบราณของโรมัน: สาร, การเยียวยา, พิษ”. โลกคลาสสิก . 102 (3): 291–310. ดอย : 10.1353/clw.0.0098 . JSTOR  40599851 โครงการ MUSE  266767.
  • เลสลีย์ Adkins รอย A. Adkins, คู่มือการใช้ชีวิตในยุคกรีกโบราณ, Oxford University Press, 1998
  • พาวเวอร์ คามิลล่า (2010). “เครื่องสำอาง อัตลักษณ์ และจิตสำนึก”. วารสารศึกษาสติ . 17 (7–8): 73–94.
  • พาวเวอร์, ค. (2004). “สตรีในศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์”. ใน Berghaus, G. (ed.) มุมมองใหม่ในงานศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ เวสต์พอร์ต คอนเนตทิคัต และลอนดอน: Praeger หน้า 75–104
  • ประวัติเครื่องสำอาง . สุขภาพและความงาม-advice.com สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2010.